ก่อนจะว่าด้วย Day 7 เรามาพูดเรื่องหลังจาก Day 6 ก่อน นั่นก็คือ หลังจากที่พบปัญหาลิ้มล่างบิดแล้ว พี่วิโรจน์ได้ทำการพันเส้นใยไฟเบอร์เสริมในแนวขวางให้ 1 ชั้น ได้ประมาณนี้
ปล่อยไว้ 48 ชั่วโมง peel ชั้นผิวออก ได้แบบนี้ครับ
หลังจาก reinforce ลิ้มแล้ว พบว่า สามารถขึ้นสายแล้วดึงได้ที่ระยะ draw แล้วครับ
โอเค ทีนี้มาว่ากันด้วยเนื้อหาของ Day 7 กันดีกว่า นั่นก็คือ test shoot ครั้งแรกของธนูซิเวี่ยนคันนี้นะครับ ผมจะเล่าแบบรวมๆไม่ได้ลำดับเหตุการณ์นะครับ เพื่อให้เนื้อหากระชับเข้าใจง่าย
แต่งปลายหูธนู (Tip)
มีการแต่งปลายหูให้มนสวยงามขึ้นครับ พี่วิโรจน์แต่งด้านนึง ผมแต่งด้านนึง ด้วยกระดาษทราย สิ่ว เหมือนเดิมครับ นั่งทำอยู่พักใหญ่เหมือนกันครับ เวลาทำอะไรที่ต้องมีการ measure ด้วยสายตานี่ trick ของผมคือ จะหลับตาข้างนึงครับเพื่อทำให้ภาพไม่เป็น stereo ครับ ไม่งั้นเราจะไม่เห็นขอบของชิ้นงานครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต้องแต่งปลายให้เป็นปลายมนกลมแบบนี้ด้วย ตรงนี้ตอนทำนึกถึงในหลวงครับ เรื่องความเพียร ล้วนๆ เพราะกระดาษทรายจะค่อยๆกินเข้าไปครับ
แต่ง handle
เนื่องจากจะทำการยิงกันแล้ว ฉะนั้นก็เลยต้องแต่ง grip หรือ handle ให้พร้อมสำหรับการยิงด้วย เพราะของเดิมจะหนาเตอะ จับค่อนข้างยากครับ เราจะแต่งให้มันคอดๆเข้าหาเซนเตอร์ครับ ด้วย belt sander ครับ ขั้นตอนนี้ยิ่งต้องใจเย็นเพราะต้องให้กระดาษทรายค่อยๆกินเหมือนกัน
ผมทำส่วนแรกและให้พี่วิโรจน์เก็บตอนจบครับ ผมยัง noob เรื่องสายพานรถถังอยู่ เดี๋ยวจะพาลกินชิ้นงานแหว่งหนัก
เรียบร้อยครับ !!! ได้ handle ที่จับถนัดขึ้นมาเยอะเลย
คอดเข้าไปแบบนี้ดีมากๆ
เริ่มทดสอบยิง
เอาละครับ ยิงกันได้ นำสายมาใส่ แล้วเอาเป้าไปตั้งเทสยิงกันข้างๆบ้านครับ ก่อนยิงเราได้ทำการวัดปอนด์คร่าวๆไว้ scythian bow คันนี้ stack ที่ 27 นิ้วครับ โดยได้ที่ 43 ปอนด์ (คำว่า stack หมายถึง จุดที่ตึงสุดของการน้าวโดยที่ได้พลังงานสูงสุดที่ธนูคันนั้นจะให้ได้ ถ้าดึงเกินไปกว่าจุด stack ธนูมีโอกาสที่จะพังได้ เช่น ล้า ในกรณีพวกอย่างไม้ไผ่ หรือ คันระเบิดเลยสำหรับไฟเบอร์กลาส เป็นต้น โดยทั่วไปการทำงานของธนูนั้นจะวัดระยะทางเป็นนิ้ว ระยะทางเพิ่ม 1 นิ้ว ปอนด์จะเพิ่ม 1 ปอนด์ บวกลบนิดหน่อยเป็นทศนิยมครับ สำหรับคันนี้ที่ระยะดึง 26 นิ้ว วัดได้ราว 38.5 ปอนด์ แต่ที่ 27 นิ้ว มา 43 ปอนด์ กระโดดขุึ้นมา 5 ปอนด์ นั่นแหละครับคือ stack แล้วมันผิดปกติ) โดยวัดด้วยเครื่องวัดหน้าตาแบบนี้ ลืมถ่ายตอนมันถูกใช้งาน เอาเป็นว่า หน้าตาแบบนี้
ผลการทดสอบ ด้วยการยิงแบบ mediterranean ที่ระยะ draw ของพี่วิโรจน์ราวๆ 27-28 นิ้วนั้น สามารถยิงได้อย่างไม่มีปัญหา การทำงานของธนูค่อนข้างดี ลิ้มที่ เสริมไฟเบอร์มาแล้ว ก็ไม่มีการบิดตัวให้เห็นแล้ว
แต่ฝันมาได้แค่ mediterranean ไม่ถึง asia
พอทดลองยิงด้วยด้วยวิธียิงแบบเอเซีย ที่เป็นการใช้นิ้วโป้งดึงสายนั้น การจับคันจะมีการบิดคันอยู่แล้วในตัว ทำให้โอกาสที่ลิ้มจะบิดก็จะยิ่งสูงขึ้นไปด้วย จะไม่เหมือนเมดิเตอร์เรเนี่ยนที่เป็นการดึงสายมาตรงๆ แรกๆยิงที่ระยะดึงสั้น ก็พบว่าผ่านไปได้ด้วยดี ดึงไม่เกิน 26 นิ้ว
แต่พอลองกลั้นใจดึง เพื่อให้ได้ระยะ draw ของผมที่ 28 นิ้ว แบบนี้
ในที่สุด ลิ้มที่มีการเสริมความแข็งมาแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอต่อการยิงแบเอเซีย ลิ้มได้บิด แล้วสายก็หลุดจากคันออกมาเป็นที่เรียบร้อย ผึ่ง คันหมุนรอบมือผมเลย !
หลังจากที่สายหลุดแล้ว เราจึงมานั่งตัดสินใจกันว่าจะเอายังไงกันต่อ โดยแนวทางมีสองทางคือ
1. เสริมความแข็งให้ลิ้มล่างใหม่เพิ่มเข้าไปอีกชั้นนึง ซึ่งนั่นจะแลกมาด้วยธนูคันนี้จะเป็นธนูที่ปอนด์หนักขึ้นด้วย
2. ยอม ปล่อยไม่ทำอะไร ให้มันเป็นธนูสำหรับการยิงแบบเมดิเตอร์เรเนี่ยนไป แล้วเดี๋ยวแก้แบบใหม่ ทำเป็น Mark II แล้วค่อยเริ่มกันใหม่
… สุดท้ายเราเลือกข้อแรก ก็คุยกันไว้ว่า ถ้าเสริมแล้ว สุดท้ายยังไม่รอด เราจะหยุดไม่ทำคันนี้ต่อแล้ว แต่ด้วยความเสียดาย เพราะมันยังไม่ได้หัก หรือระเบิดอะไร ก็อยากให้มันสำเร็จกันอะนะ โอเค งั้นเรามาเสริมลิ้มล่างกันใหม่อีกรอบ
การ Reinforce ลิ้มล่างใหม่อีกครั้ง
ในการเสริมลิ้มล่างขึ้นตอนการทำก็คือ
1. นำลิ้มไปขัดกระดาษทรายให้สากเพื่อให้กาวติด
2. พันด้วยไฟเบอร์ในแนวสวนทางกับทิศทางการบิดของลิ้ม
3. ลงน้ำยา epoxy สำหรับไฟเบอร์กลาส
4. พันด้วย peel ply
5. รัดด้วยผ้าตาข่ายสีแดง
6.พันทับด้วย breather
7. พันรัดสุดท้ายให้แน่นด้วยเส้นยางในเก่าจักรยาน
ครับจะเห็นว่า ขึ้นตอนเยอะมากครับ อุปกรณ์ที่ใช้ทำทั้งหมดนี้ ยืมมาจากอุปกรณ์ที่ไว้ใช้ในการทำ Vacuum Infusion Process ครับ ลองอ่านดูเพิ่มเติมได้
เริ่มจากขัดกระดาษทรายที่ surface ที่จะพันไฟเบอร์ทุกด้านให้สาก
แล้วเริ่มพันไฟเบอร์แบบนี้ครับ พี่วิโรจน์ซื้อมาเป็นม้วนใหญ่มากทีเดียว
พันจนกระทั่งเต็มพื้นที่ลิ้มที่ต้องการ
ต่อมาก็ผสมด้วยกาว เทสโก้ ครับ … ไม่ใช่ว้อย อันนี้เป็น epoxy A-B คล้ายๆกาวตอนที่่ทำ lamination นั่นแหละครับ แต่ตัวนี้จะใสกว่า อัตราส่วนผสมที่ 2:1 ขาว 2 เหลือง 1 ไม่รู้เหมือนกันว่าอันไหนตัวเนื้อ อันไหนตัวเร่งแห้ง
เสร็จแล้วก็ทาลงไปให้ชุ่มครับ
ขึ้นตอนต่อมา นำ peel ply มาพันทับอีกชั้น peel ply ตัวนี้มีหน้าที่ทำให้ลอกชั้นอื่นๆออกง่ายครับ และยอมให้ epoxy ซึมผ่านชึ้นผิวมันด้วย
แล้วใช้ผ้าตาข่ายแดง พันซ้ำอีกที เพื่อกดให้แน่น epoxy ส่วนเกินก็จะดันผ่านตาข่ายขึ้นมาอีกที
เสร็จแล้วพันด้วย breather อีกชั้น เป็นผ้าคล้ายๆสำลี ชื่อของมันก็บอกหน้าที่แล้วคือ ไว้ให้หายใจ คือให้ตัวอากาศ และ เรซินระหว่างชั้นมันดันขึ้นมา ซับที่ชึ้นนี้ครับ จุดประสงค์เพื่อนให้เราได้เรซิ่นที่บางที่สุดแนบกับเส้นใยที่สุด
ขึ้นตอนสุดท้ายก็คือ นำยางในรถมอไซค์มาตัด แล้วพันเข้าไปเพิ่มกำลังการรัดให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เทคนิคนี้พี่ อนุรักษ์ ช่างธนูสายเทรดดิชั่นนอล เอเซียก็นิยมใช้บ่อยครับ
final product of Day 7
สุดท้ายจบวัน ได้ธนูที่เสริมเส้นใยไฟเบอร์ในแนวขวางให้กับลิ้มล่าง รอการเซตตัวที่ 48 ชม. จึงจะเริ่มทำต่อได้ แบบนี้ครับ
เป็นไงครับ เหนื่อยมั้ยครับ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะครับ หนทางอีกยาวไกล ของ craft ที่ละเอียดอ่อนมักจะเป็นอย่างนี้ครับ ใจเย็นๆ เดี๋ยวได้ของดี 🙂
โปรดติดตามตอนต่อไป…