สำหรับวันนี้จะเป็นการทำหูยึดสายธนูครับ บริเวณปลายสุดของลิ้มทั้งสองด้าน เพื่อให้ธนูนั้นขึ้นสายได้และพร้อมสำหรับขันตอน tiller ต่อไป มาดูขั้นตอนกันครับ
ติด veneer เพิ่ม
จากคราวที่แล้วที่จบวันด้วยการติดไม้เพิ่มที่ปลายในส่วนของ back แล้วรอให้แห้งนั้น พี่วิโรจน์ได้ทำการติด veneer เพิ่มในส่วนของ belly ให้เลยด้วย ได้ส่งรูปมาให้ไว้เขียนบล๊อกด้วยครับ วัสดุที่ใช้เป็นไม้มะค่า ครับ สีจะเป็นน้ำตาลเข้ม แต่อ่อนกว่าตัวไม้ชิงชันครับ เช่นเดิม ต้องนำมาดัดด้วยความร้อนก่อน ไม่สามารถอัดตรงๆได้ มันจะหักครับ
ใช้หููละ 4 ชิ้น ความหนารวมๆราวๆ 6 มิล ครับ
หลังจากดัดแล้ว ก็นำมา laminate เหมือนเดิม ทำเหมือนเดิมด้วย primitive way ก่อน
แล้วจึงตามด้วย C-Clamp รัดแล้วทิ้งไว้ให้แห้งเหมือนเดิมเป็นอันเสร็จ
แต่งทรงคร่าวๆ
หลังจากที่แห้งแล้ว ก็เริ่มนำมาแต่งให้เป็น shape ที่ต้องการ พี่วิโรจน์แต่งไว้ให้ดูด้านนึงแล้ว หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ
เหลืออีกด้านนึงให้ผมทำ ก็จะหน้าตาแบบนี้
โอเค๊ เข้าเครื่องกันเลยย อุปกรณ์ที่ใช้มีสองตัวคือเครื่องขัดรถถังสำหรับ curve นอก และ สว่านดัดแปลงตัวเดิม สำหรับ curve ใน เริ่มทำที่ curve นอกก่อน เพราะทำง่ายกว่า
ขัดไปสลับเล็งไปแบบนี้ ใจเย็นๆ
ด้วยความที่ curve มันโค้งเยอะมาก การขัดจึงยากไปด้วย ต้องหมุนคันไปมาตลอดเวลา
เกิดอุบัติเหตุ !
เรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นจนได้ ด้วยความที่ระวังไม่มากพอ มีช๊อตนึงต้องโค้งธนูมากๆ ใช้มุมล่างสุดของเครื่องขัด แล้วผมจับไม่กระชับพอ ทำให้เครื่องดึงคันธนูไป แล้วมือผมก็โดนดึงเข้าไปด้วย มือแหก อ๊ากกซ์ โดนรถถังกินไปนิดหน่อย ไม่เป็นไร พันผ้า ทำต่อได้ ฝากเตือนทุกท่านด้วยเวลาเราทำงานกับอะไรที่เป็นโรเตอร์แบบนี้ ต้องระวังให้มากๆนะครับ
ต่อๆ ต่อไปก็เป็น curve ในครับ ตัวนี้ใช้สว่านแท่นดัดแปลง แล้วหมุนๆคันธนูเอา ค่อนข้างยากพอสมควร
หมุนๆๆ เอื้อมตัว เล็ง
เซาะร่องสำหรับสายธนู
โอเค หลังจากเจียรแต่งพักใหญ่ก็เป็นอันได้ shape ที่ต้องการ ต่อไปเป็นการสกัดไม้ออกให้เป็นร่องสำหรับใส่สายธนูครับ ขึ้นตอนนี้เป็นงานฝีมือแล้วครับ hand craft อุปกรณ์ที่ใช้มีเลื่อย และสิ่วเบอร์ต่างๆครับ ตั้งแต่ตรงนี้ไปต้องทำมือและเล็งด้วยสายตาแล้วครับ ให้พี่วิโรจน์นำมาให้ก่อน บากร่องด้วยเลื่อยก่อนเลย
พอได้ร่องก็ใช้สิ่วด้ามส้มๆนั่นแหละครับ ค่อยๆสกัดออก สกัดออก มันคืองานแกะสลักดีๆนี่เอง จนได้รูปร่างราวๆนี้
แล้วก็เซาะร่องให้สายธนูอยู่ด้วย
หลังจากได้รูปทรงคร่าวๆ ก็ให้ผมขัดเก็บรายละเอียดได้ ใช้กระดาษทรายพันไม้ขัดๆ เป่าๆ ฟู่ววว
ผมทรงใหม่ผม หล่อมั๊ยครับ ^^”
ลองขึ้นสาย
พอแต่งหูธนูครบสองข้างแล้ว ก็ลองนำสายมาใส่ แต่เนื่องจาก ยังไม่ได้ทำสายไว้ นำสายอีกคันนึงมาลองก่อน ปรากฎว่า สายสั้นเกินไปในสายแรก ก็เลยไปเอาสายอีกเส้นมา คราวนี้ยาวไปอีก – -” ทำไมโลกนี้ไม่มีอะไรพอดีเลยเนี่ย 55 (สายธนูแบบที่ใช้กับคัน tradition เป็นสายที่เรียกว่า flemish twist string เดี๋ยวไว้จะเขียนวิธีทำให้ในโอกาสหน้าครับ มีขั้นตอนและอุปกรณ์อยู่พอสมควร)
วันนี้ตั้งใจกันไว้ว่าจะลองขึ้นสายให้ได้ระยะ brace ก่อน และจะลอง full draw ดู แต่ปรากฎว่า พบปัญหาที่ลิ้มล่าง เมื่อดึงมาถึงจุดนึง มีการบิดและจะทำให้สายหลุดจากคันธนูได้ เป็นเพราะว่าลิ้มนั้นมันอ่อนเกินไป ดังนั้น วันนี้จึงเอาแต่ลองขึ้นสายดูที่ระยะ brace ก่อน
และนี่คือทั้งหมดของ Day 6 จ้า สรุปคือได้คันที่พร้อมสำหรับการขึ้นสาย แต่ยังไม่ได้ tiller ให้ full draw ได้เนื่องจากลิ้มล่างอ่อนเกินไป ก็รอเสริมความแข็งแกร่งด้วยการใช้ไฟเบอร์ wrap รอบลิ้มอีกทีครับ ต้องรอเป็นครั้งต่อไปครับ
ลืมบอก คำว่า full draw คือ การน้าวธนูที่ระยะเต็มที่ๆมันจะทำงาน มาตรฐานจะอยู่ที่ 28 นิ้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสรีระของคนด้วย ของผม full draw คัน tradition อยู่ที่ 27 นิ้ว ส่วนคันธนูเอเซียจะอยู่ที่ 31 นิ้ว คันนี้ตั้งใจว่าจะใช้ยิงด้วยวิธีเอเซีย ดังนั้นอาจต้อง tiller ให้ได้ที่ 32 นิ้ว หรือกว่านั้น กันมันหักครับ
ติดตามตอนต่อไปครับ ธนูมีรายละเอียดอื่นๆอีกมากครับ จะค่อยๆทะยอยๆเล่ากันไปนะครับ สวัสดี…