เอาแล้ว เอาแล้ว ได้คันแล้ว เย้ ! วันนี้เป็นวันถอดคันแล้วนาจา ไหนๆ วันนี้ได้อะไรบ้าง กับ ธนูซิเวี่ยนคันนี้ มาๆ ดูๆ อย่าช้าเลย เย่!
แกะ Mold กัน
มาถึงบ้านพี่วิโรจน์ ก็ไม่พูดพล่ำทำเพลง เราก็ลงมือแกะคันออกจาก mold กันเลย อยากเห็นมากว่าน่าตาจะออกมาเป็นไง วิธีก็คือไขๆ clamp ออกให้หมด รวมถึงตัวประคองกันเลื่อนด้านข้าง แล้วค่อยๆแคะออก มันจะติดๆหน่อยเพราะกาวมันจะทะลักออกข้างตอนกดแคลมป์ทีแรก ก็ค่อยๆแงะหน่อย มันจะไม่เป็นไร เพราะเราได้ติดเทปกาวไว้ก่อนแล้ว
แท๊แด มาแล้ว คันธนู
ได้ออกมาอย่างงี้จ้า
ขั้นตอนต่อไป เดี๋ยวเราจะมาลอกเทปกาวออก ทีนี้ก็จะได้เห็นหน้าตาที่แท้จริงของธนูเสียที แต่เนื่องด้วยมันมีหลายชั้น คือมีพลาสติก แล้วก็เทปกาว การลอกออกจึงเป็นความยากลำบาก
เปลี่ยนมือบ้าง
ลอกไปซักพัก … วุ้ย ลอกยากจริงๆ เลยบอกพี่วิโรจน์ บอก “พี่ ผมว่าเราทิลข้างก่อนนิดนึงมั้ย ให้ชั้นกาวมันหลุดก่อน จะได้ลอกง่าย” พี่วิโรจน์ก็เห็นด้วย เลยเอาเข้าเครื่องขัดก่อน
โอเค ข้างเรียบ แกะต่อได้ ง่ายขึ้น
เกิดเรื่องไม่คาดคิด !
หลังจากลอกๆเทปกาวออก ก็พบกับสิ่งนี้
ชิ้บแล้ววว !!! มันคือ ชั้น veneer ของ zebrano เกิดการปริแตกภายใน บริเวณด้าน belly (ด้านของธนูมีสองด้าน เรียกด้าน back กับ belly เวลาเราถือคันยิง ด้านที่หันหาเป้าคือ back ด้านหันหาเราคือ belly)
และ ไม่ใช่แค่ตรงนี้ แต่มันได้แตกเป็นทางยาวที่ปลายลิ้มด้วย
ใจผมแม่งร่วงลงไปตาตุ่มเลยนะ คิดว่า ลาก่อย ธนูซิเวี่ยนที่รัก คงไม่ได้สานต่อกันอีกแล้ว … แต่พี่วิโรจน์เช็คดูแล้ว บอกว่า ถึงแม้มันจะปริ แต่กาวที่อัดไว้ได้แทรกตัวไปสมานร่องดี แน่นอยู่นะ เช็คฟองอากาศอะไรก็ถือว่าแน่นนะ ยังถือว่าไม่พัง แค่มันไม่สวยเฉยๆ เอาน่า คิดซะว่าเป็นลวดลายของไม้
… ผมงี้แบบ เข้ ! กรูรอดว่ะ ผมเลยบอก ไม่เป็นไรพี่ เอางี้แหละ ถือเป็น prototype I ไปเลย เป็นตัวต้นแบบ เดี๋ยวทำเสร็จผมจะขอให้พี่เค้าลง number ด้วย เมพขิงๆ
ผมชอบนะ ส่วนตัวผมเป็นคนชอบงานละเอียด แต่เกลียดงาน perfect ผมเกลียดพวก perfectionism ปรัชญาชีวิตผมข้อนึงคือ “คนเกิดมา ยังมีปาน มีอะไรไม่เหมือนกันเลย ขนาดพระเจ้ายังปั้นคนให้ไม่เพอเฟ็ค แล้วคุณยังจะมาถามหาความเพอเฟ็คจากมนุษย์ธรรมดาเนี่ยนะ คุณบ้ารึเปล่า” … นั่นละฮ่ะ ผมก็เลยมักจะชอบให้ของๆผม มี birthmark ด้วย และคันธนูคันนี้ มันช่างใช่ !
จากการสันนิษฐานของพี่วิโรจน์ ความน่าจะเป็นก็คือ
1. มันแตกตอนที่เรากด mold แล้วเราต้องเราซ้ายตบขวาให้มันอยู่ในร่อง ทำให้ไม้มันย่น กอปรกับแรงอัดด้วยทำให้มันปริแตก
2 ไอ้กาวเนี่ย มันเซตตัวเร็วเกินไป ดังนั้นมันจึงเริ่มแข็งตัว แล้วตอนกด clamp มันมีการสไลด์ แต่กาวมันไม่อ่อนตัวให้ ก็เลยเหมือนโดนของแข็งหนุนๆอัดๆ จนแตกจากภายใน
เอาเป็นว่า ยัง … ยังไม่พังว้อย ว๊ะ ฮ่า ฮ่า โอเค งั้นเราไปต่อกัน
หา Center คัน
ขั้นต่อไปเราจะหา center ของคันกัน เพื่อที่เวลา tiller เราจะทิลเข้าที่เส้นนี้ มันจะได้เท่ากันสองฟาก เริ่มจาก ตัดปลายส่วนเกินของทั้งสองลิ้มออกไปเสียก่อน ด้วยเลื่อยตัดเหล็กธรรมดานี่แหละ
แล้วก็แปะ duck tape กลับเข้าไปที่ด้าน back ก่อน จะได้เขียนอะไรกะมันได้
ต่อมา ต้องปรับหน้าของด้านนึงให้เรียบเสียก่อน โอเค เข้าเครื่องปายยย
ทีนี้ก็ใช้ดินสอ ใส่กับบล๊อคไม้ที่พี่วิโรจน์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการตีเส้นตลอดคัน ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้พื้นที่มีความเรียบเท่ากันมาเป็นตัววัด ดังนั้นจึง move เข้าไปทำกันบนโต๊ะกินข้าวที่เป็นแก้วในบ้าน เพราะมันเรียบดี
แล้วก็ตีเส้น
ทำ Taper ที่ปลายลิ้ม
ในการทำธนูนั้น หลักการทำงานก็คือ เฉลี่ยแรงกระทำให้กระจายทั่วๆกันทั้งคัน ถ้าเราไม่ทำการรีด taper เลย แรงภาระต่างๆจะตกมาที่กลางๆลิ้มแต่ละด้าน และนั่นจะทำให้ธนูหักได้ ดังนั้นเราจะค่อยๆรีดปลายลิ้มให้เล็กเรียวลงเพื่อเฉลี่ยการทำงานครับ พี่วิโรจน์ก็ทำการวัดและวาดใส่กระดาษ ตัดมาแบบนี้
จากนั้นเอากระดาษมาทาบกับคันที่เราขีดเส้น center แล้ว วาดตาม (ไม่ค่อยเห็นหน่อยนะ มุมนี้)
ออกมาหน้าตาแบบนี้จ้า
เริ่ม tiller เบืองต้น
โอเค ทีนี้ก็เอาคันไปทำการทิลเลอร์ได้ อย่างที่เรียนให้ทราบตั้งแต่ตอนแรกๆว่า ไฟเบอร์มันแข็งสุดโลก ดังนั้น เราจะไม่ใช่ band saw ในการตัด หันไปใช้เลื่อยวงเดือนหงานขึ้น ค่อยๆตัดก่อน แน่นอนส์ ขั้นตอนนี้ ผมไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้ เพราะ ผงไฟเบอร์มันคันไงละ ต้องเอาเลนส์เมพซูมเอา ได้ประมาณนี้
แล้วก็ขัดต่อเลย ด้วยเครื่องสายพานรถถัง (ยิ่งทำเรื่อยๆอุปกรณ์ยิ่งงอกออกมาเรื่อยๆ ^^”)
หลังจากเจียรอยู่พักนึง เราจะเอาขึ้นแท่น tiller แล้ว แท่นนี้เป็นแท่นที่เอาไว้วัดระยะการทำงานของธนูที่ระยะต่างๆ จะค่อยๆกระเถิบไปทีละนิ้ว ทีละนิ้ว ดูทรงธนูว่าเป็นอย่างไร ถ้าเริ่มเสียทรงต้องหยุด ถ้าฝืนต่อ จะหักได้ คร่าวๆประมาณนี้ อันนี้เราจะลองก่อนว่า ถ้ามันโค้งมาในจุดที่ตั้ง brace height (เดี๋ยวไว้อธิบายในโอกาสต่อๆไป) ได้แล้ว รูปร่างจะออกมาประมาณไหนครับ อุปกรณ์ที่ใช้ก็คือ
1.แท่น tiller
2.เชือกสำหรับยึดปลายสองด้านไว้ดึง
เอาละ ขึ้นแท่น
ดึงๆ
อันนี้จะเป็นทรงคร่าวๆที่พอธนูขึ้นสายจะเป็นแบบนี้ ให้ลองจินตนาการว่า สายมันไม่ได้ยืดไปแบบนี้นะครับ สายมันจะตึงๆธรรมดาเหมือนตอนธนูขึ้นสาย แต่ยังไม่ได้ยิงอะครับ นึกออกไหมหว่า?
ได้ผลน่าพอใจ ทีนึ ลองค่อยๆดึงต่อดูว่าเป็นไงบ้าง พี่วิโรจน์เออออกจากแท่นแล้วดึง manual เลย อันนี้ก็เป็นวิธีดั้งเดิม อยากบอกผู้สนใจว่า ถ้ายังไม่มีแท่น tiller ก็ใช้ความยาวของร่างกายค่อยๆทำได้ แต่ลำบากหน่อย อาจจะต้องมีกระจกสะท้อนไว้เช็ค อะไรเงี้ยครับ ทำเป็นเล่น ใครจะรู้วันนึงเกิด zombie apocalype day ขึ้นมา คุณต้องหนีเข้าป่า คุณจะได้ทำธนูแบบ Primitive ได้ไง ใช้หินสกัดใบแทนมีด ก็ต้องทิลเลอร์แบบนี้แหละ หุหุ นี่ไม่ได้พูดเล่นนะ นี่จริงจัง เค้าทำกันงี้จริมๆ
ทำชิ้นสำหรับลามิเนตปลายลิ้ม
การทิลเลอร์คันธนูของวันนี้ จะพอเพียงเท่านี้ก่อน เพราะเรายังไม่มีที่ nock สายเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้นเราจะมาทำตัวเสริมปลายสำหรับ nock สายครับ ให้มันหนาขึ้นเพื่อความแข็งแรงด้วย และเพื่อความสวยงามด้วย สำหรับ scythian bow คันนี้จะแปะ veneer และชิ้นไม้เพิ่มทั้ง back และ belly แต่ต้องทำทีละด้าน โอเค เราจะแปะเสริมที่ back ก่อน
พี่วิโรจน์ได้ทำการตัดเตรียมไว้ให้แล้วสองชิ้น ติดกาวร้อนเข้ากับแท่นไม้ให้เรียบร้อย เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าเครื่องเจียร
นอกจากนี้จะมีแผ่นเล็กๆ อีกสามแผ่น รวมสองด้านเป็น 6 แผ่นครับ ก็กระจายกันไปทำ ผมไปขัดผิวสัมผัสให้เรียบและได้ curve ที่เข้ากับคัน พี่วิโรจน์แยกไปทำ veneer 6 แผ่นที่ว่า วัสดุก็ยังคงเป็นไม้ชิงชัน ครับ อ้อ ที่ปลายลิ้มที่จะติดก็เอากระดาษทรายขัดผิวไฟเบอร์กลาสด้วยครับ
Laminate เข้าไป ด้วย Primitive Way+Modern Way
เพิ่งจะพูดถึง primitive กันมะเกี๊ยะเลย เรียบร้อย.. ได้ใช้จริงกันเลย เนื่องด้วย ไอ้ curve นรกที่ปลายลิ้มมันโค้งสุดๆ และชั้น veneer ก็มีเยอะเกินไป หนำซ้ำมันสั้น ทำให้มัน ไม่อ่อนตัวตามรูป มันเด้งตลอดเวลา เอา clamp หนีบมันดิ้นๆหลุดด้วย แบบนี้
ชิ้บแล้ว… ทากาว epoxy ไปแล้วด้วย เดี๋ยวมันเซตตัวอีก ทำไงดีๆ พี่วิโรจน์จึงกลับสู่ origin ของการทำธนู เน่ ! เชือกเลย เชือกวิเศษลาบานูน เอาเชือกมาพันก่อนเลยครับ อันนี้ดั้งเดิมสุดๆ วิธีนี้ก็ยังคงใช้ถึงทุกวันนี้นะครับ ในการทำธนูเขาสัตว์ ธนูเกาหลี รวมถึงธนูญี่ปุ่นที่เรียกว่า ยูมิ ด้วย อันนี้สายพี่ อนุรักษ์ เจ้าสำนักสามโคก โดโจ ครับ เดี๋ยวถ้ามีโอกาสได้ทำจะเล่าให้ฟัง
หลังจากนั้นก็กลับมา modern way เอา c clamp อัดมันต่อซะ
สรุป Day 5
เราได้คันธนูที่ถอดจาก mold, ทำการ tillering เบื้องต้นเพื่่อดู shape แต่ยังไม่ได้ขึ้นสายจริง และได้เสริม trip ที่ปลาย limb ด้วยด้านนึง ตามนี้จ่ะ
โปรดติดตามตอนต่อไป…ขอให้ทุกคนมาความสุขกับสิ่งที่ชอบและรักที่จะทำครับ สวัสดี