มาถึงวันที่สอง ยังคงเป็นเรื่องของการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆอยู่ อย่างที่ได้บอกไปตอนต้น การทำธนูนั้น การเตรียมการต่างๆแทบจะเป็น 60% ของงานเลยทีเดียว มาดูกันว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง
ทำ clamp
เริ่มด้วย การเตรียม clamp ต่อ … ยังคงทำเหมือนเดิมคือใช้เหล็กท่อเหลี่ยม เหล็กเส้น แล้วน๊อต มาประกอบกัน
เริ่มด้วยนำเหล็กเส้นมาดัดงอและตัดให้ได้ขนาดก่อน
เอาเหล็กสี่เหลี่ยมมาเจาะรูตรงกลางแบบนี้ด้วยสว่านแท่นที่ใช้รอบต่ำเพื่อให้ได้กำลังในการทะลวงเหล็ก อ้อ เวลาเจาะก็ให้หล่อน้ำไปด้วย เพราะมันจะร้อนครับ
ผมลงมือเองบ้าง หุหุ ยกมาเจาะข้างนอกสว่างๆ
ทำไปเรื่อยๆครับ ค่อยๆใช้เวลาอย่าปราณีต เสร็จแล้วก็เอามาอ๊อกกัน ได้แบบนี้
สำหรับ scythian bow คันนี้ใช้ราวๆ 40 อันครับ ก็ทยอยๆทำกันไปครับ
เตรียม veneer สำหรับ คันธนูทั้งหมด
ต่อไปก็เป็นการเตรียม veneer (มันคือการรีดไม้ให้เป็นแผ่นบางๆเท่ากระดาษครับ) โดยไม้ที่ใช้เป็น Maple ครับ สามารถหาซื้อได้ที่ถนนสายไม้ ประชานฤมิตรครับ ที่เราจะทำ veneer มีทั้งหมด 4 แผ่นครับประกอบด้วย
1. maple x2 หนา 1.1 mm โดยรีดปลายให้เหลือราวๆ 0.8 mm
2. fiberglass x2 หนา 1 mm
ทั้งสี่แผ่นนี้จะถูกประกบกันบน mold ครับ แล้วค่อยมาผ่านขั้นตอน tillering อีกทีนึง เดี๋ยวว่ากันในครั้งต่อไป
แล้วจะทำยังไงจะรีดแผ่นไม้ให้แบบขนาดวัดกันเป็น mm ได้? ก็ต้องมีเครื่องนี้ครับ เป็นเครื่องมือ diy ที่พี่วิโรจน์ ทำขึ้น ใช้แท่นไม้ประกอบๆ มีมอเตอร์ส่งกำลังตัวนึงอยู่ล่าง ต่อผ่านสายพานขึ้นมาด้านบนเป็นกระดาษทรายที่พันบนไม้กลมๆที่กลึงเอง มาดูวิธีเตรียมกัน
ตัดกระดาษทรายตามแบบของเดิม
แท่นหมุนที่ลอกกระดาษทรายออกแล้ว หน้าตาแบบนี้
แปะกระดาษทรายเข้าไปให้
เอากระดาษกาวพัน หัวท้าย ไม่ต้องทากาวอะไร ก็เป็นอันแน่นใช้ได้แล้วครับ
ขั้นต่อไปก็เอาไม้ที่รองด้านล่างมาใส่ ตัวนี้จะเป็นตัวที่ไว้ปรับระดับหน้าสัมผัส ว่าอยากให้กระดาษทรายกันมากกินน้อยแค่ไหน โดยการไขน็อตเลื่อนความสูงที่รองแท่นไม้ครับ
อีกมุม
เตรียม Maple
เอาละ ทีนี้เอาแผ่น maple ที่ตัดไว้ที่ความหนาระดับนึงมา ไสๆ
ความยากของการเจียรก็คือ มันไม่ใช่ว่า เรานึกจะเอา 1.2 mm เราก็ตั้ง 1.2mm เลย ถ้าไม้เรามา 3mm เราก็ต้องค่อยๆไถมันออก ทีละน้อยๆ มันจึงต้องไสหลายรอบมากกว่าจะได้ความหนาที่ต้องการ ต้องค่อยๆไป เพราะไม้ไสแล้ว ไสเลย ถ้ามันแหว่งไป มันไม่มีปุ่ม undo นาจา นี่แ่หละคือความ classic ของงานทำมือครับ craftsmanship สำคัญและเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน
ไสแล้ว ไสอีก หลายรอบอยู่
ทำด้วยๆ ^^”
เตรียม Fiberglass
เอาละ เตรียม fiberglass ต่อ ตัว fiberglass ในการทำธนูนี่ ต้องสั่งจากนอกเข้ามาครับ ในไทยไม่มี หลักๆที่พี่วิโรจน์บอกก็มีอยู่ 3 แหล่งคือ อเมริกา,จีน และ เยอรมัน โดยของที่ใช้เป็น fiberglass จากเยอรมันครับ สั่งมาทีเป็นม้วนใหญ่ยักษ์ยาวร้อยเมตร หนา 1.2 mm แต่สำหรับธนูคันนี้ใช้หนา 1 mm ก็เลยต้องมาเจียรออกเหมือนกัน ขั้นตอนเหมือนตอนทำกับเมเปิ้ล เลยครับ
หน้าตาไฟเบอร์กลาส แบบนี้ ขุ่นๆ
แต่ก่อนจะเจียรหน้า ด้วยความที่มันกว้างไป ก็จัดการกับความกว้างเสียก่อน ทีนี้ มันไม่ได้ง่ายแบบเอาเลื่อยๆปรื๊ด เพราะไฟเบอร์เบอร์กลาสเป็นวัสดุที่แข็งแกร่ง ทรงพลังมาก เอาเลื่อยมาเลื่อยนี่ ใบหัก ดังนั้น เลยต้องมานั่ง trim มือด้วยคีมปากนกแก้วก่อน เอาความกว้างออก แบบนี้
โอเค ทีนี้ไสหน้าได้ ไฟเบอร์กลาสมีฝุ่นที่เป็นอันตรายกับทั้งผิวหนัง และปอดด้วย ต้องใส่หน้ากากและเสื้อผ้ามิดชิดมากครับ โดนผิวนี่คันยิกเลย นึกสภาพถ้ามันเข้าจมูกนี่ ปอดได้ลาโลกแน่ ขั้นตอนนี้ ผมฉากไปอยู่ไกลๆเลย ใช้เลนส์เมพ zoom เอา ให้พี่วิโรจน์ทำ
สังเกตุชุดพี่วิโรจน์นะครับ ดูที่มือจะเห็นว่ามีการพันด้วยพลาสติก กันฝุ่นไฟเบอร์นั่นเอง มันคันจริงๆนะ
อะ ไหนๆทำ fiberglass แล้ว ทำ maple ด้วยเลย แต่ maple ไม่โหดเท่า เราใช้กบไสไม้ไสได้ครับ
เสร็จแล้วก็ผ่านเครื่องเจียรที่ดัดแปลงจากสว่านแท่นมาเจียรข้างเพื่อความเท่ากันอีกรอบ ทั้งไฟเบอร์และเมเปิ้ล
ด้านล่างมีลูกปืนสามลูก กันดิ้นด้วย
พอถึงเจียรข้างไฟเบอร์ อันนี้ผมก็ต้องฉากอีกเช่นกัน เห็นเชืองที่ผูกกับก้านจับดึงขึ้นลงไหมครับ นั่นแหละ ใช้ผูกเชือกเป็นรอกแล้วดึงแทนเอา
สรุป Day 2
ได้ veneer maplex2, fiberglass x2 และ clamp สำหรับรัดที่ยังไม่ครบ แต่ก็ถือว่าคืบหน้าไปมาก
ประมาณการคร่าวๆ ขึ้นตอนเหลือ laminate 1 วัน, tiller 1 วัน และ finishing อีก 1 วัน ก็น่าจะเสร็จครับ โปรดติดตามตอนต่อไป…
เชิญชมภาพเคลื่อนไหว 25 เฟรม เพอ เซ๊ค …