หลังจากที่ทดสอบ MicroKorg และ MicroKorg XL+ มาทั้งคืน มีเรื่องสรุปดังนี้


1. MicroKorg XL+ เสียงดีกว่า Microkorg อยู่มากโข น่าจะเป็นเพราะเทคโนโลยี Multi Modeling Technology ที่ใหม่กว่า Analog Modeling ธรรมดาของ MicroKorg นะครับ เสียงมาเต็มกว่า ผมเปิด Volume XL+ ที่ประมาณบ่ายโมง ก็ถือว่า มาได้เยอะเพียงพอ ในขณะที่ microkorg ธรรมดา ต้องเปิด 3 โมงถึงเกือบสุด ถึงจะได้ระดับความดังเท่ากัน


2. เรื่องเสียง XL+ น่าใช้กว่า เพราะมีเสียงใหม่ และมีเสียงจำเป็นๆเพียงพอ ใน XL+ จะมีเสียงเปียโนและ EP มาให้อยู่สองเสียงด้วย ซึ่งถือว่าใช้ได้ทีเดียวสำหรับเพลง Electronic ใน micro ธรรมดาไม่มีเสียงเปียโน แต่ micro ธรรมดา จะมีเสียงกลุ่ม syn bass เจ๋งๆกว่า และพวกเสียงที่ใช้ arpegiator สำหรับสร้าง environment ย่านสูงๆ จะระยิบระยับกว่า ไว้เล่นเพลงที่ต้องการความกัดๆจิกๆ เช่นพวก DubStep หรือพวก DnB ได้มันส์กว่า ในขณะที่ XL+ จะมี Pad ที่คลอบคลุมและอุ้มเพลงได้ดี เหมาะสำหรับ Chill Out พอสมควร



3.เอาเข้าจริงในเรื่องการใช้งาน micro ธรรมดา ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่ามาก เพราะทุกอย่างจะมากองอยู่ตรงหน้าให้หมุนเลย มีตัวหนังสือเพียบพร้อม บอกว่า knob ไหน mode ไหนคุมอะไร ซึ่งมันทำให้การสร้างสรรค์เสียงสดๆ ที่ไม่ใช่จาก preset สนุกกว่ากันมากจริงๆ แต่ XL+ มันเอาไปซ่อนไว้ ต้องหมุน knob หลัก มาที่ Full Edit แล้วจึงใช้ knob 1 เลือกว่าจะเข้าไปปรับอะไรๆ ยังไง ซึ่ง มันไวมาก และเลือกให้ตรงโคตรยากกกกกกกกกก ซึ่งการต้องทำแบบนี้ มันทำลายจินตนาการมาก มันจะพาลบู่เอาง่ายๆ คือถ้าจะใช้ คู่มือนี่ ต้องติดกับตัวเลย หรือไม่ก็ต้องอ่านจนจำได้เป๊ะๆ เหมือนวิชา ภาษีอากร ยังไงยังงั้น แต่ถ้าเป็น Micro ธรรมดา มันมีบอก ไม่ต้องมีคู่มือยังพอคลำๆได้
อย่างไรก็ดี ก็ต้องมีคู่มือทั้งคู่อยู่ดี เพราะการ save เสียง ทับ bank หรือการดึง factory reset ต้องกดปุ่มหลายๆปุ่ม ไม่มีทางเดาได้




4. Key ของ XL+ น่าเล่นกว่า มีน้ำหนักกดลึกได้ดีกว่า แต่คีย์ micro จะเด้งไวกว่า และตื้นแข็งกว่า เล่น lead ค่อนข้างสนุก แต่วาง Harmony กดยากกว่า เรื่อง Wheel ถือว่า พอกัน เล่นได้ดีทั้งคู่




5.สิ่งที่ Korg ควรมีอย่างยิ่งคือปุ่ม Tempo Tap ซึ่งไม่มีในทั้งคู่


6. Vocoder อันนี้ผมชอบของ micro ธรรมดามากกว่า ด้วยความที่มัน edit ง่ายกว่านั่นแหละ แต่ยังไม่ได้ลองมาก เดี๋ยวขอลองลึกๆก่อน ข้อนี้อ่านข้ามๆไปก่อน


7. ปุ่ม octave shift แบบธรรมดาจะเป็นปุ่มกด แบบของ xl+ เป็นก้านปัด ส่วนตัวผมว่าปุ่มกดเล่นสนุกกว่า มัน classic กว่า แต่อันนี้แล้วแต่คนชอบเลย


…. โดยรวมถือว่า ทั้ง microKorg XL+ และ microKorg เป็น Instrument หรือใครเรียกว่าของเล่นอะไรก็แล้วแต่ ที่เหมาะกับกลุ่มคนที่เอาไว้คิดงานสร้างสรรค์ และเล่น synthesizer พอเป็นหรือมีพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว ไม่ค่อยเหมาะเอาไว้สำหรับมาพยายามสร้างเสียงให้เหมือนกับเพลงทั่วไปในท้อง ตลาด เพราะด้วยความที่ preset มันไม่ใช่เอาไว้สำหรับเพลงพวก mainstream เอาซะเลย ออกแนวอิเลคโทรนิคจ๋าๆ คนไม่เคยเล่น หรือไม่เคยฟัง มาจับนี่อาจจะเหวอได้ ยิ่งมันเป็น synth ที่ต้องการความ edit และความ individual ของต้ว Artist สูงด้วยอย่างนี้แล้ว ยิ่งทำให้ดูใช้ยาก แต่ถ้าใช้เป็นแล้ว การสร้างสรรค์เสียงต่างๆมันจะเป็นเรื่องง่ายและสนุกมาก สนุกกว่าการใช้ workstation ใหญ่ๆ อย่าง Krome หรือคีย์บอร์ดกลุ่ม Arranger อย่าง PA60 เป็นแน่ เพราะบางครั้ง เวลาเราจะสร้างเสียงใหม่ๆ เราไม่ได้ต้องการความที่มันต้องกดๆๆๆ เข้าหน้า page เข้าหน้า fx เข้าไปเลือก เข้าไป เข้าไปๆๆๆ กว่าจะเข้าถึงแก่น หมดอารมณ์ทำพอดี เราต้องการอะไรที่มันแบบมือเอื้อมจับถึงมากกว่า
ผมอัดเพลงไปราวๆ 70% แล้ว จะพยายามรีบถ่ายทำ VDO ให้เสร็จภายในอาทิตย์นี้ ซึ่งมันก็จะไม่ได้มีอะไรลึกมากใน VDO ตัวนี้ เป็นแบบ เปรียบเทียบ มากกว่า ถ้าผมทำ VDO เสร็จ แล้ว Korg ยังใจดีให้ผมยืมเล่นต่อ ผมจะเขียนรายละเอียดลึกๆที่ผมค้นเจอด้วยตัวเองไว้ใน Blog ของผมละกัน (จริงๆไม่รู้จะได้เล่นหรือเปล่าเพราะผมอาจจะต้องทำ PA60 และ King korg ต่อเลย แต่ผมบอกเลยว่า ผมติดใจ microKorg พอสมควรเหมือนกัน)
ลองฟังเสียงที่ผมอัดไว้จากทั้งสองตัวคร่าวๆใน soundcloud ผมได้ก่อน เดี๋ยวกำลังจัดทำ VDO ตามมาครับ 🙂